เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 1. กันทรกสูตร

15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
17. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย
18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
21. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่ นาและที่ดิน
22. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร
23. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด
25. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง
26. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การ
ปล้น และการขู่กรรโชก
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป
ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที นกบินไป ณ ที่ใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง
จะไป ณ ที่ใด ๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 1. กันทรกสูตร

การสำรวมอินทรีย์

[12] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา
และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงทางหู ...
ดมกลิ่นทางจมูก ...
ลิ้มรสทางลิ้น ...
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ...
รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้
จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความสำรวม
อริยอินทรียสังวรนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน
ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู
การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน
การตื่น การพูด การนิ่ง